วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน


บทอาขยาน
บทหลัก

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดหล้านภาลัย
ว่าพลางทางชมคณานก        โผนผกจับไม้อึงมี่ 
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี        เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา 
นางนวลจับนางนวลนอน        เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา 
จากพรากจับจากจำนรรจา        เหมือนจากนางสการะวาตี 
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง        เหมือนร้างท้องมาหยารัศมี 
นกแก้วจับแก้วพาที        เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา 
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร        เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา 
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา        เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง 
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว        เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง 
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง        คะนึงนางพลางรีบโยธี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทอาขยาน ม.4

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก
พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี

นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มงคลสูตรคำฉันท์

 มงคลสูตรคำฉันท์
     มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดีคำสอนผลงานพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
            ที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกมาแปลและเรียบเรียงแต่งเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มงคลสูตรคำฉันท์

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
            บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัวใจชายหนุ่ม

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์คำโคลง
   นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
       พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง .เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิราศนรินทร์คําโคลง

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10 

                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิทานเวตาล เรื่องที่ 10